Non-Destructive Testing บริการตรวจสอบ NDTแบบไม่ทำลาย

การทดสอบแบบไม่ทำลาย คือการทดสอบแบบไม่ทำลายโดยจะเป็นการทดสอบหารอยความไม่ต่อเนื่องบนแนวเชื่อมแบบต่างๆเพื่อค้นหาความผิดปกติหรือความไม่ต่อเนื่องบนชิ้นงานเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรือข้อบกพร้องขณะใช้งาน โดยจะมีวิธีการทดสอบแบบ  NDT ที่หลากหลายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆเช่น สภาพชิ้นงาน ชนิดของชิ้นงาน และ สิ่งที่ต้องการทราบบนชิ้นงาน

การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing หรือ NDT) เป็นกระบวนการตรวจสอบคุณภาพและข้อบกพร่องของชิ้นงานโดยไม่สร้างความเสียหายต่อวัสดุหรือโครงสร้าง ช่วยให้สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นงานได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การถ่ายภาพรังสี (Radiographic Testing), การตรวจสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonic Testing) และการทดสอบวัสดุแบบไม่ทำลายด้วยอนุภาคแม่เหล็ก (Magnetic Particle Testing)

ประโยชน์ของการทดสอบแบบไม่ทำลาย (NDT Testing)

  • ตรวจพบข้อบกพร่องในชิ้นงานโดยไม่สร้างความเสียหาย

    การตรวจสอบแบบไม่ทำลายช่วยให้สามารถตรวจพบรอยร้าว รอยเชื่อมที่ไม่สมบูรณ์ หรือข้อบกพร่องอื่น ๆ ภายในชิ้นงานโดยไม่ต้องตัดหรือทำลายชิ้นงานเดิม ซึ่งเหมาะสำหรับการตรวจสอบชิ้นงานที่ต้องการรักษาสภาพเดิมเพื่อใช้งานต่อไป
  • ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ

    ด้วยเทคโนโลยี NDT จึงทำให้กระบวนการตรวจสอบแบบไม่ทำลายสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดเวลาที่ต้องหยุดการผลิต รวมถึงช่วยลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นงานใหม่
  • ป้องกันความเสียหายจากการใช้งานจริงและเพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการผลิต

    การตรวจสอบ NDT ช่วยป้องกันอุบัติเหตุและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากข้อบกพร่องในชิ้นงานที่ไม่ได้ตรวจพบ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าวัสดุหรือโครงสร้างนั้นมีความปลอดภัยและได้มาตรฐานก่อนนำไปใช้งานจริง

บริการตรวจสอบโดยทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ NDT Thai

บริการตรวจสอบจาก NDT Thai มุ่งมั่นในการให้บริการที่มีคุณภาพสูง ด้วยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และความสามารถในการตรวจสอบและวิเคราะห์ชิ้นงานอย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ ทีมงานของเราได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานสากล และมีใบรับรองด้าน NDT (Non-Destructive Testing) ซึ่งเป็นการรับรองความสามารถในการดำเนินการตรวจสอบอย่างเป็นมืออาชีพ NDT Thai พร้อมให้บริการทดสอบโดยไม่ทำลายที่ตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า โดยเน้นคุณภาพและความแม่นยำเป็นหลัก สร้างความมั่นใจให้กับทุกงานที่เราดูแล

การตรวจสอบด้วยรังสี (Radiographic Testing - RT )

การทดสอบโดยวิธีภาพถ่ายรังสี (Radiographic Testing) เป็นการทดสอบโดยการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงจากแหล่งกำเนิดรังสีผ่านชิ้นงาน ซึ่งอาจทำจากวัสดุชนิดต่างๆ อาศัยหลักการดูดซับพลังงานที่ไม่เท่ากันของวัสดุหรือการที่วัสดุมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน เช่นมีโพรงอากาศอยู่ภายใน ทำให้พลังงานของรังสีผ่านชิ้นงานตรงบริเวณที่เป็นโพรงได้มากกว่า และทำปฏิกิริยากับสารไวแสงที่เคลือบอยู่บนผิวฟิล์มได้มากกว่าส่วนอื่นเมื่อล้างฟิล์มออกมาแล้วก็มีสีคล้ำกว่าบริเวรอื่น ดังนั้นการถ่ายภาพด้วยรังสีจึงเป็นการแปรผลจากเงาของภาพชิ้นงานที่ปรากฏอยู่บนฟิล์ม

การทดสอบโดยอนุภาคแม่เหล็ก ( Magnetic Particle Testing - MT )

การทดสอบด้วยสนามแม่เหล็กเป็นการวัดรอยบกพร่องบริเวณผิววัสดุโดยการใช้การเหนี่ยวนำจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับ วิธีการคือโรยผงเหล็กย้อมสีขนาดเล็กลงบนบริเวณที่ทดสอบ (ส่วนใหญ่จะเป็นสเปย์ผงเหล็ก) จากนั้นนำอุปกรณ์สร้างสนามแม่เหล็กอาจเป็นแม่เหล็กถาวรหรือแบบใช้ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ(Electromagnetic) ก็ได้ หากพบรอยแตกร้าวขนาดเล็กบนผิวชิ้นงานบริเวณดังกล่าวจะปรากฏเป็นผงเหล็กให้เกาะกันเป็นแนวเส้นตามรอยร้าวเนื่องจากผงเหล็กไม่สามารถกระโดดข้ามผ่านรอยแตกร้าวไปตามเส้นแรงแม่เหล็กได้

การตรวจสอบโดยวิธีพินิจ (Visual Testing -VT)

เป็นการตรวจสอบแนวเชื่อมหรือชิ้นงานโดยใช้สายตาของผู้ทดสอบประเมิณความผิดปกติ โดยจะมีเครื่องมือที่ใช้ร่วมด้วยในการพินิจ เช่น Borescope ใช้เข้าไปในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าไปได้เช่น ไลน์ท่อ อุปกรณ์ขนาดเล็ก , แว่นขยาย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น และอื่นๆ เช่น Depth Gauge, Welding Gauge เป็นวิธีการทดสอบพื้นฐานก่อนจะทำงานทดสอบด้วย Method อื่นๆ

การทดสอบโดยสารแทรกซึม ( Penetrant testing - PT )

การทดสอบสอบโดยวิธีสารแทรกซึมเป็นวิธีการหารอยบกพร่องหรือความไม่ต่อเนื่องที่เปิดสู่ผิวสามารถทดสอบกับวัสดุทุกชนิดที่ไม่เป็นรูพรุน เช่น แก้ว พลาสติก เซรามิค โลหะ อโลหะ เป็นต้น การทดสอบโดยวิธีการนี้อาศัยหลักของปฏิกิริยาแทรกซึม ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ โดยการทาหรือพ่นของเหลวย้อมสีที่มีคุณสมบัติแทรกซึมเข้าไปในรอยร้าวหรือรูเล็กๆได้ดี จากนั้นจะใช้สารเคมีหรือน้ำยาที่มีคุณลักษณะคล้ายกระดาษซับ พ่นหรือโรยตรงบริเวณที่ต้องการทดสอบ หากมีรอยแตกร้าวหรือรอยบกพร่องใดๆบนผิวงานจะเกิดเป็นเส้นหรือแนวของสารย้อมสีให้เห็นอย่างเด่นชัด 

การตรวจสอบด้วยคลื่นความถี่สูง ( Ultrasonic Testing - UT )

เป็นการทดสอบชิ้นงานหรือแนวเชื่อมด้วยเครื่องมือตรวจ ultrsaonic ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นการตรวจสอบโดยการใช้คลื่นเสียงเพื่อวัดความหนาและค้นหาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นในเนื้อวัสดุสามารถบอกความลึกของรอยความไม่ต่อเนื่องได้ คลื่นเสียงความถี่สูงจะถูกสร้างขึ้นจากผลึกซึ่งอยู่ภายในหัวทดสอบ (Probe) คลื่นเสียงจะเคลื่อนที่สู่ชิ้นงานโดยผ่านสารช่วยสัมผัส ถ้าชิ้นงานไม่มีรอยความไม่ต่อเนื่องจากหน้าจอของเครื่องมือก็จะมีสัญญาณสะท้อนจากผิวด้านล่างของชิ้นงาน

การทดสอบวัดความหนา (Ultrasonic Thickness Measure UTM)

UTM การวัดความหนาของอัลตราโซนิค (UTM) เป็นวิธีการทดสอบความหนาแบบไม่ทำลายความหนาของวัสดุโดยอาศัยหลักการของคลื่นเสียงความถี่สูงส่งผ่านไปยังชิ้นงานที่ต้องการทดสอบโดยทั่วไปใช้ในการตรวจสอบความหนาของโลหะ เช่น ไลน์ท่อ, ถัง Pressure vessel, ถังน้ำมัน, ถังบรรจุก๊าซ เพื่อตรวจสอบการกัดกร่อนและความเสียหายเพื่อคำนวนอายุการใช้งานคงเหลือเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและคำนวนหา life assessment

การตรวจสอบหาองค์ประกอบทางเคมีของวัตถุ ( Positive Material Identification - PMI)

  • PMI คือการวิเคราะห์ส่วนผสมทางเคมีเพื่อระบุชนิดและเกรดวัสดุของอัลลอยด์โลหะประเภทต่างๆ เพื่อการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) และควบคุมความปลอดภัย (Safety Control) ของวัสดุโลหะที่จะนำไปใช้งานผลวิเคราะห์ที่ได้จากการทำ PMI จะแสดงธาตุต่างๆที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุและปริมาณที่ตรวจพบโดยมักจะรายงานเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) หรือ ppm/ ppb และแสดงชื่อเกรดของวัสดุที่ตรวจพบด้วย
  • PMI อัลลอย์ถูกใช้ในกระบวนการ QC, Safety Compliance และเป็นส่วนหนึ่งในระบบ Production and Asset Integrity Management

Hardness test

การทดสอบความแข็งเป็นการทดสอบความแข็งของโลหะในการต้านทานต่อการแปรรูปภาวร ซึ่งมีประโยชน์ในการนำมาออกแบบภาชนะแรงดันต่างๆ การวัดจากความสามารถในการต้านทานต่อการเปลี่ยนรูปแบบถาวรรวมทั้งดูว่าทำให้เปลี่ยนรูปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสามารถทดสอบความแข็งของวัสดุได้หลากหลายวิธีไม่ว่าจะใช้แรงกด ขูด เจาะกระแทก ฯลฯ ค่าความแข็งของวัสดุถือได้ว่าเป็นค่าพื้นฐานที่สามารถชี้ให้เห็นคุณสมบัติโดยรวมของวัสดุนั้นได้

Eddy Current Testing

การทดสอบโดยวิธีกระแสไหลวน (Eddy Current Testing) คือวิธีการทดสอบโดยอาศัยหลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetism)ทำให้เกิดกระแสไหลวนบนชิ้นงานทดสอบและสังเกตค่า Impedance ของหัวทดสอบที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสไหลวนบนชิ้นงานที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความแตกต่างกันของคุณสมบัติ รูปร่างหรือรอยความไม่ต่อเนื่องที่อยู่ในวัสดุ โดยสามารถทดสอบวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าได้เท่านั้น

Phased Array Ultrasonic Testing – PAUT

Phased Array Ultrasonic Testing (PAUT) หรือที่รู้จักในชื่อ Phased Array UT เป็นเทคนิคการตรวจสอบแบบไม่ทำลายขั้นสูงที่ใช้ชุดโพรบทดสอบอัลตราโซนิก (UT) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ละสิ่งเหล่านี้จะเต้นเป็นจังหวะแยกกันด้วยจังหวะที่คำนวณด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างลักษณะแบบเป็นขั้นตอนของกระบวนการ ในขณะที่อาร์เรย์อ้างอิงถึงองค์ประกอบหลายอย่างที่ประกอบกันเป็นระบบ PAUT

การทดสอบ Magnetic Flux Leakage (MFL) บนพื้นถัง (MFL on Floor) Tank floor scan

การทดสอบการกัดกร่อนของพื้นถังน้ำมัน การสแกนพื้นถังเป็นวิธีการเชิงคุณภาพเพื่อตรวจสอบการกัดกร่อนของดินบริเวณแผ่นด้านล่างของถังเก็บเหนือพื้นดินโดยใช้หลักเทคนิคการรั่วไหลของสนามแม่เหล็ก(MFL) การสแกน MFL ของ Tank Floor เป็นเทคนิคการตรวจสอบที่รวดเร็วซึ่งใช้สนามแม่เหล็กเพื่อตรวจจับการกัดกร่อนและการเกิดรูพรุนในเหล็กกล้าคาร์บอน MFL ใช้แม่เหล็กอันทรงพลังเพื่อดึงดูดก้นถังเหล็ก สนามแม่เหล็กรั่วจากข้อบกพร่องการกัดกร่อนหรือการสูญเสียวัสดุจะถูกตรวจจับโดยเซ็นเซอร์ MFL 3D MFL สามารถให้การเลือกปฏิบัติระหว่างข้อบกพร่องพื้นผิวด้านบนและด้านล่าง ใช้กับการตรวจถัง Aboveground tank inspection API 653